Skip to content

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เติม “ทักษะการเรียนรู้” สู้ชีวิตในปี 2023 เมื่อโลกยังหมุนทุกวัน ความรู้ของคุณในวันนี้ อาจขึ้นสนิมในวันหน้า

เติม “ทักษะการเรียนรู้” สู้ชีวิตในปี 2023 เมื่อโลกยังหมุนทุกวัน ความรู้ของคุณในวันนี้ อาจขึ้นสนิมในวันหน้า

Perspective 25 ม.ค. 2566
หน้าหลัก Perspective เติม “ทักษะการเรียนรู้” สู้ชีวิตในปี 2023 เมื่อโลกยังหมุนทุกวัน ความรู้ของคุณในวันนี้ อาจขึ้นสนิมในวันหน้า

ในปี 2023 ทักษะกี่ด้านอาจไม่ได้สำคัญแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือ เราต้องรู้จักตัวเองก่อน เพราะแต่ละวงการวิชาชีพมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมือนกัน เราต้องค้นให้เจอว่าอะไรคือการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้ามา Disrupt วงการเรา แล้ว Skill เราจะรองรับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้มั้ย

พูดคุยกับ ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ว่า เราจะเรียนรู้ อัปเดตความรู้อย่างไร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและทักษะอะไรที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับแรงงานในปี 2023

“ความรู้” ที่เรามีอาจ “เก่า” เกินที่จะใช้ได้แล้ว

ในตลาดแรงงานปี 2023 ทักษะที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นตั้งแต่ในปีนี้และในอนาคต คือ “ทักษะการเรียนรู้” เพราะโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก สิ่งที่เราเรียนในปัจจุบันอาจล้าสมัยได้เร็วมาก เช่น หากเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เรียนแล้วรู้แค่คอนเทนท์ที่อยู่ในห้องเรียน ระยะยาวจะอยู่ได้ยาก เพราะความรู้ที่เราเรียนในวันนี้ อาจใช้ประโยชน์ในองค์กรได้เพียง 1-2 ปีเท่านั้น เพราะโลกที่เปลี่ยนไป องค์กรต้องการองค์ความรู้ใหม่ ๆ

หากมีเรื่องใหม่เข้ามา เราจะเรียนรู้ได้เร็วแค่ไหน “Learning How to Learn” ที่ไม่ใช่แค่การ Learning Content แต่เราต้องเรียนรู้ทักษะที่ว่า ถ้าเราไม่เคยรู้เรื่องเลยสักเรื่องนึง จะทำอย่างไรให้เรารู้เรื่องนั้น ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าทุกคนควรมีทักษะแบบเดียวกัน เพราะแต่ละวงการวิชาชีพใช้ทักษะที่ไม่เหมือนกัน เช่นหากมีคนบอกว่าทุกคนควรมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเขียโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คำถามคือ ทุกอาชีพต้องใช้ไหม? ฉะนั้น ขึ้นอยู่กับเฉพาะบุคคล แต่ทักษะที่ควรมีร่วมกันคือ Learning Skill เป็นทักษะที่สำคัญมาก ๆ

ผมมองว่าเราควรปลูกฝังความรักในการเรียนรู้ให้กับทุกคนตั้งแต่การเรียนใน
โรงเรียน การเรียนในมหาวิทยาลัย คือ คุณห้ามหยุดเรียนรู้ ถ้าคุณหยุดเรียนรู้เมื่อไหร่ แล้วทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้วที่ไม่อยากเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ คุณช่วยพัฒนาองค์กรได้ 1-2 ปี เพราะทักษะที่คุณเรียนมันล้าสมัย คุณอาจจะประสบความสำเร็จ
ในวงการวิชาชีพของคุณได้ยากมาก และเลวร้ายกว่านั้นอาจโดน Lay off

คุณถนัดเรียนรู้แบบไหน ให้ใช้ทักษะการเรียนรู้ในแบบของตน

มีทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ T-Shape คือไม่ใช่การรู้ลึกอย่างเดียว ต้องรู้กว้างด้วย ถ้านึกถึงตัว T เส้นที่ขีดตั้งตรงลงมา คือความรู้เชิงลึก แต่ส่วนบนที่ขีดเป็นแนวนอน คือความรู้เชิงกว้าง สมมติว่าคุณเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรมเก่งมาก รู้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์อย่างเดียว ถามว่าอยู่ได้ไหม ก็คงอยู่ได้ ตราบใดที่คุณยังอัปเดทความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม บริษัทก็ยังคงจ้างคุณ แต่คุณจะประสบความสำเร็จได้ยากหน่อย นั่นหมายถึงคุณจะเป็นเพียงพนักงานบริษัทอย่างเดียว

แต่ถ้าคุณอยากทำ Startup คุณต้องเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจด้วย คุณเริ่มมีหัวด้านธุรกิจ เริ่มเข้าใจว่าโปรแกรมของคุณจะไปตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างไร คุณเริ่มเข้าใจว่ามันจะทำให้เกิดรายได้ได้อย่างไร หากคุณมองในมุมนี้ คุณก็จะมีความรู้เชิงกว้างที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม ฉะนั้น หากเราพัฒนาตนเองให้ตรงกับศาสตร์หรือเข้ากับศาสตร์ที่เราทำงานอยู่ได้ ก็จะสามารถช่วยผลักดัน ต่อยอด และส่งเสริมให้เราไปได้ไกลยิ่งขึ้น

“ทางลัด” ของคนอยากพัฒนาตนเองด้านธุรกิจ แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “การทำธุรกิจ คุณไม่จำเป็นต้องเรียนก็ได้ หรือการบริหาร คุณต้องลองทำเอง” จริง ๆ แล้ว ทักษะของการบริหารหรือการจัดการ ถามว่าเรียนรู้เองได้ไหม เรียนรู้เองได้ แต่ต้องใช้เวลาพอสมควร

การเรียนจึงเป็นทางลัดของคนที่อยากทำธุรกิจ อย่างการเรียน MBA ที่ธรรมศาสตร์ เพราะการเรียนที่นี่ได้ถูกออกแบบหลักสูตรว่าคุณจะต้องเรียนวิชาใดบ้าง โดยออกแบบร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มนักธุรกิจ ผู้บริหาร และศิษย์เก่า จนกระทั่งออกมาเป็นหลักสูตร ถ้าคุณอยากเป็นนักบริหารที่เก่งที่ดี คุณควรเรียนวิชาเหล่านี้ตามลำดับแบบนี้

ทุกคนที่มาสอนที่ MBA คือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ และหากมีคนบอกว่า ไปเรียนกับอาจารย์ทำไม อาจารย์ไม่เคยทำธุรกิจ แสดงว่าคุณยังไม่เคยเรียน MBA ที่ธรรมศาสตร์ เพราะที่นี่มีทั้งอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ และอาจารย์ก็เชิญผู้บริหารที่ทำงานด้านนั้นมาสอนโดยตรงเช่นเดียวกัน หากคุณมีประสบการณ์ทำงาน 3 ปี คุณคิดว่าอยากพัฒนาตัวเอง ก็กลับมาที่ทักษะการเรียนรู้ อันนี้คือทางแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งครับ


แชร์บทความนี้
Copy
Skip to content