Skip to content

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คลิป ‘มุมมองเมืองรองในไทย’ ของ ‘นักศึกษา ECON มธ.’ คว้าแชมป์จาก World Bank Thailand

คลิป ‘มุมมองเมืองรองในไทย’ ของ ‘นักศึกษา ECON มธ.’ คว้าแชมป์จาก World Bank Thailand

News & Events 18 ก.ค. 2567
หน้าหลัก News & Events คลิป ‘มุมมองเมืองรองในไทย’ ของ ‘นักศึกษา ECON มธ.’ คว้าแชมป์จาก World Bank Thailand

นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผลิตคลิปนำเสนอมุมมองเมืองรองในไทย คว้าที่ 1 จากการแข่งขัน The 2024 World Bank Thailand Young Economist Contest

     ภูมิไท สิทธิชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน “The 2024 World Bank Thailand Young Economist Contest” จัดโดย World Bank Thailand โดยพิธีมอบประกาศนียบัตรจัดขึ้นในงาน Thailand Economic Monitor July 2024: “Unlocking the Growth Potential of Secondary Cities” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์

     ภูมิไท สิทธิชัย เปิดเผยว่า 2024 Thailand Young Economist Contest เป็นรายการที่ให้คนรุ่นใหม่ส่งคลิปวิดีโอนำเสนอ ในหัวข้อ “Building Tomorrow: Unlocking the Economic Potential of Thailand’s Secondary Cities for the Youth” เพื่อเสนอมุมมองของคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับเมืองรองในประเทศไทย ว่าจะทำอย่างไรให้เมืองเหล่านี้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

     “ผมมองว่าทุกวันนี้ประเทศไทยมีการพัฒนากระจุกตัวอยู่เพียงแค่ไม่กี่จังหวัด เช่น กทม. ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอมุมมองและวิธีการพัฒนาจังหวัดอื่น ๆ ตามแนวคิดของเรา ถ่ายทอดออกมาผ่านคลิปวิดีโอ และอัปโหลดลงแพลตฟอร์มในโซเชียลมีเดีย ซึ่งจากรายละเอียดของการแข่งขันมีความน่าสนใจมาก เนื่องจากผมมีความสนใจเรื่องการพัฒนาในพื้นที่ต่างจังหวัดอยู่แล้ว เพราะเป็นเด็กที่โตมาในต่างจังหวัด” ภูมิไท กล่าว

     ภูมิไท เล่าว่า ผมเล่าเรื่องโดยเกริ่นถึงการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานของต่างจังหวัดเทียบกับ กทม. เพื่อเทียบให้คนดูเห็นภาพ เช่น น้ำประปาไม่สะอาด ไฟฟ้าดับบ่อย หรือการขาดแคลนระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนต่างจังหวัดต้องยอมทุ่มเงินซื้อรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์มาเป็นของตนเอง อีกทั้งคนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาคการเกษตรซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ยาก ขณะที่จังหวัดที่เจริญแล้วพึ่งกับภาคอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มากไปกว่านั้น การเข้ามาของสังคมผู้สูงอายุจะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองหลักและเมืองรองมากขึ้น เพราะภาวะการขาดแคลนแรงงานในอนาคต อาจทำให้เมืองรองอื่น ๆ ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานทักษะ

     “ผมได้นำเสนอการแก้ไขในมุมมองของผม คือการกระจายอำนาจไปยังเมืองรอง เพิ่มงบการพัฒนาสาธารณูปโภคในเมืองรอง และปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่ต่างจังหวัดให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน หรือการปฏิรูประบบการศึกษาให้ทันสมัยและเข้าถึงได้ เพื่อสร้างแรงงานทักษะเพิ่มขึ้นในอนาคต พร้อมกับการพัฒนาผู้คนในต่างจังหวัดจากภาคเกษตรมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ต่อหัวที่มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองหลักและเมืองรองในประเทศไทยได้ เป็นต้นครับ” ภูมิไท เสนอมุมมอง

     ภูมิไท เล่าเสริมว่า โดย Script ในวิดีโอได้อิทธิพลจากวิชา EC483 (Industrial Policy) และใช้การนำเสนอแบบ Video Essay โดยผมนำฟุตเทจในอินเทอร์เน็ต แบบ No copy right มาใช้ตัดต่อเพื่อ ผสมกับฟุตเทจเก่า ๆ ที่เคยถ่ายไว้ (เป็นคลิปที่ถ่ายไว้ตอนอาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด) เพราะฟุตเทจที่เราถ่ายเองจะดูมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้คลิปโดยรวมออกมาแล้วน่าสนใจครับ

     “ผมรู้สึกดีใจที่สามารถชนะรางวัลนี้ได้ เนื่องจากหัวข้อของการแข่งขันเป็นเรื่องที่ผมสนใจ อีกทั้งการทำคลิปวิดีโอก็เป็นสิ่งที่ผมชอบเหมือนกัน ทำให้การเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ก็เหมือนผมได้ทำในสิ่งที่ตนถนัด อีกทั้งเนื้อหาในคลิป ไปจนถึงกระบวนการตัดต่อ ผมตั้งใจทำมันมาก ๆ ผลลัพธ์ที่ได้จึงน่าพึงพอใจ นอกจากนี้สิ่งที่รู้สึกดีมาก ๆ คือการที่เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ได้ออกมาพูดในหัวข้อนี้ของ World Bank ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมภูมิใจที่ได้ออกมาพูดแทนคนในพื้นที่ อีกทั้งเนื้อหาในคลิปมันก็มาจากสิ่งที่ผมประสบพบเจอมาในชีวิต ทำให้รางวัลนี้เป็นรางวัลที่มีคุณค่าทางใจพอสมควรครับ” ภูมิไท กล่าวทิ้งท้าย


แชร์บทความนี้
Copy
Skip to content