Skip to content

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

‘ธรรมศาสตร์’ จัดงาน ‘เชิดชูเกียรตินักวิจัย 2566’ บทพิสูจน์ความสำเร็จของผลงานวิจัย-นวัตกรรม (en translation)

‘ธรรมศาสตร์’ จัดงาน ‘เชิดชูเกียรตินักวิจัย 2566’ บทพิสูจน์ความสำเร็จของผลงานวิจัย-นวัตกรรม (en translation)

News & Events 29 Apr 2567
Home News & Events ‘ธรรมศาสตร์’ จัดงาน ‘เชิดชูเกียรตินักวิจัย 2566’ บทพิสูจน์ความสำเร็จของผลงานวิจัย-นวัตกรรม (en translation)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานวันเชิดชูเกียรตินักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2566 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติคุณคณาจารย์และนักวิจัยของธรรมศาสตร์

   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย กองบริหารงานวิจัย มธ. และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน “วันเชิดชูเกียรตินักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2566” เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติคุณคณาจารย์และนักวิจัยของธรรมศาสตร์ ที่สร้างผลงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาทั้งต่อสังคมไทยและสังคมโลก และสามารถคว้ารางวัลได้ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานในพิธี และ รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรประจำคณะ/หน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งครอบครัวของผู้ได้รับรางวัลฯ เข้าร่วมแสดงความยินดี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

     ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับรางวัลด้านการวิจัยเป็นจำนวนมากทั้งประเภทผลงานและประเภทบุคคล ซึ่งเป็นผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมที่สร้างประโยชน์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นผลงานวิจัยในประเด็นเศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพและปากท้องของประชาชน ซึ่งผลจากการศึกษาล้วนแล้วแต่ถูกนำไปเผยแพร่และตีพิมพ์ให้แก่ประชาชนในทั่วทุกมุมโลกได้รับรู้ และนำไปเป็นแนวทางต่อยอดเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่บุคคลในทุกระดับ

     การดำเนินงานของประชาคมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงปณิธานอันเป็นหัวใจหลักสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน “Thammasat for the People” ซึ่งยังคงฝั่งอยู่ในรากลึกและจิตวิญญาณของคนธรรมศาสตร์รุ่นต่อรุ่น


แชร์บทความนี้
Copy
Skip to content